วิธีการดูแลและป้องกันโรคเก๊าท์
วิธีการดูแลและป้องกันโรคเก๊าท์
อาหารที่ควรงดหรือหลีกเลี่ยง
-ต้องงดกินอาหารที่ทำให้เกิดเลือดมีภาวะเป็นกรดชั่วคราว
-ห้ามกินอาหารที่มีพิวรีนสูง
-ห้ามกินเนื้อสัตว์และนมวัวเพราะโปรตีนจากเนื้อสัตว์และนมวัวมีความเป็นกรดสูง ทำให้ไตทำงานหนักและเสี่ยมเร็ว ไม่สามารถขับกรดยูริคได้หมดจึงไปสะสมเป็นผลึก
กรดยูริคตามข้อต่อต่างๆ
-ห้ามกินอาหารทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู อาหารพวกนี้มีพิวรีนสูง ปลากินได้เพียงสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
-ห้ามกินถั่วและเต้าหู้ เพราะเป็นโปรตีนมีความเป็นกรดสูง แต่ถั่วเพาะงอกมีคุณสมบัติเป็นด่าง จะลดอาการปวดข้อได้โดยเฉพาะ ถั่วดำงอกจะดีมาก(ช่วยบำรุงไต) ถั่วแดง
ก็ดี หรือถั่วเพาะงอกต่างๆ แต่ควรกินสัปดาห์ละ 4-5 ครั้ง
-อาหารที่ผ่านความร้อนสูงจากการ ปิ้ง ย่าง ทอด น้ำมันผ่านความร้อนสูงจะเกิดอนุมูลอิสระ
-ห้ามดื่มน้ำอัดลม ชา กาแฟ และแอลกอฮอร์ มีน้ำตาลสูง เป็นภาวะไตต้องทำงานหนัก
-ไม่กินอาหารที่ทำจากแป้งขาว เช่น ขนมต่างๆ เบเกอรี่ ซาลาเปา อาหารพวกนี้เป็นกรดและยังมีน้ำมันอันตรายแฝงอยู่
อาหารที่ทำให้เลือดเป็นกรด ถ้าผู้ป่วยเก๊าท์งดได้ชั่วคราว 3-4 เดือนจะเห็นอาการดีขึ้นแบบชัดเจน และทำให้ได้ภายในระยะเวลา 1 ปี จะช่วยแก้ต้นเหคุของโรคเก๊าท์ได้
อย่างถูกต้อง เพราะเป็นการช่วยร่างกายขับและสลายกรดยูริคออกได้และให้ดูแลสุขภาพไต(ในรายละเอียดโรคไต)โรคเก๊าท์จะหายไปแบบถาวร
อาหารที่ควรทาน
-ดื่มน้ำสะอาดวันละ 8-10 แก้ว
-ดื่มน้ำสมุนไพร (ในรายละเอียดโรคไต 'องค์รวมแพทย์แผนไทย") จะช่วยขับปัสสาวะและสลายกรดยูริคหรือดื่มน้ำมะนาว 1 ลูกคั้นใส่น้ำ 1 แก้ววัรละ 4 ครั้ง (เท่ากับมะนาว
วันละ 4 ลูก) ดื่มติดต่อกันภายใน 7 วัน
-กินมะขามป้อมวันละ 10 ลูก ถ้ากินยากก็นำไปปั่นรวมกับน้ำมะนาว กับหน่อไม้ฝรั่ง กินติดต่อกันภายใน 7 วัน เพราะมะขามป้อมมีวิตามินซีสูงมากช่วยในการขับกรดยูริ
คในเลือดได้ 1-3 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หน่อไม้ฝรั่งมีกรดฟอลิคสูงการสลายตัวของกรดฟอลิคจะไปยับยั้งเอนไซม์แซนทีน ออกซิเดส ซึ่งเป็นเอนไซน์ผลิตกรดยูริค วิตามินซี
จะส่งเสริมการสลายตัวของกรดฟอลิค
-กรดไขมันสายกลาง+กระเทียม+โอเมกา3(ดูรายละเอียดเรื่องกระเทียม)
-ผักสด ผลไม้มีเอนไซม์เพื่อพลังชีวิต
-และควรขับถ่ายให้ได้วันละ 3 ครั้งจะช่วยลดพิษที่ตับกับไตได้