อาการหย่อนสมรรถภาพ แพทย์ชี้ เสี่ยง 5 โรคร้าย
แพทย์ชี้'อาการหย่อนสมรรถภาพฯ' ส่งผลคุณภาพชีวิต เสี่ยง 5 โรคร้าย แพทย์แนะนำ ?อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ? ในผู้ชาย สามารถส่งผลต่อคุณภาพชีวิต เสี่ยงต่อ 5 โรคร้ายแรงได้ เตือนประชาชนปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เริ่มสังเกตพบ... ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมบุญ เหลืองวัฒนากิจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะ กล่าวว่า ?ในช่วงเทศกาลวาเลนไทน์ถือเป็นโอกาสที่ดียิ่งในการแสดงความรักและความโรแมนติกต่อคู่รัก ผู้ชายที่มีอาการอวัยวะเพศชายไม่แข็งตัวและ/หรือแข็งตัวได้ไม่นานพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างสุขสม ควรทราบว่าตนเองกำลังมี ?อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ? (Erectile Dysfunction หรืออีดี) อาการอีดีเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายสูงอายุและวัยหนุ่ม รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเรื้อรัง เทศกาลวันแห่งความรัก อาจเพิ่มความเครียดแทนที่จะเป็นความสุขสำหรับชายที่มีอาการอีดี การร่วมรักเป็นเสมือนการทดสอบความแข็งแกร่งของความเป็นชาย เมื่อการแข็งตัวของตนไม่ดีพอ ก็อาจทำให้เสียความมั่นใจ เครียดสะสม เพราะรู้สึกว่าตนเองล้มเหลว กลัวหรือถึงขั้นหมดอารมณ์ความรู้สึกที่อยากจะมีเพศสัมพันธ์กับคนรัก ทำให้คู่ครองหรือคนรักรู้สึกไม่ได้รับความรัก ความสนใจ ห่างเหิน และถูกทอดทิ้งได้ ซึ่งบ่อยครั้งทำให้ชีวิตคู่มีปัญหาหรือบานปลายถึงขั้นเลิกราก็มี จึงควรสังเกตตนเอง ยอมรับความจริง และรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษา ซึ่งได้ผลดีกว่าทิ้งอาการไว้เนิ่นนาน? ?อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นอาการที่ไม่ควรละเลย เพราะอาการอีดี ถือเป็นสัญญาณเตือนว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเป็น 5 โรคร้ายแรง อาทิ หลอดเลือดหัวใจ ไขมัน เส้นเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคซึมเศร้า ดังนั้นเมื่อพบว่าตนเองหรือคนรักมีอาการอีดี จึงควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับคำปรึกษาและทำการรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง" ทั้งนี้ อาการอีดีส่วนใหญ่มีสาเหตุสำคัญมาจากการที่เส้นเลือดส่วนที่ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะเพศชาย (ซึ่งมีขนาดเล็กมากเพียง 1 ใน 10 ของหลอดเลือดหัวใจ) เกิดการตีบตัน ทำให้เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงและขยายตัวได้ ส่งผลให้องคชาตไม่สามารถแข็งตัวได้เต็มที่ การรักษาเบื้องต้นจึงควรเริ่มจากการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่รับประทานอาหารมันจัด หวานจัด หรือเค็มจัด ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รู้จักปล่อยวาง ไม่เครียด โดยควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย นายแพทย์จิตรการ มิติสุบิน ที่ปรึกษาอาวุโสฝ่ายการแพทย์กล่าวว่า ?จากการสำรวจพบว่า 4 ใน 5 ของชายและหญิงในภูมิภาคเอเชีย (จำนวน 3,282 คน ใน 10 ประเทศ อายุระหว่าง 31-74 ปี) ให้ความสำคัญกับ ?คุณภาพ? มากกว่า ?ปริมาณ? หากเป็นเรื่องการร่วมรักอย่างสุขสมแบบในอุดมคติ ทั้งนี้ กลุ่มสำรวจกล่าวว่าระดับการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย คือ ตัวแปรสำคัญของคุณภาพของการมีเพศสัมพันธ์ โดยชายที่มีการแข็งตัวของอวัยวะเพศเต็มที่ (เกรด 4) จะมีความภาคภูมิใจในตนเองสูงกว่า และเจ็บป่วยเรื้อรังน้อยกว่า เมื่อเทียบกับผู้ชายที่มีอวัยวะเพศที่แข็งตัวไม่เต็มที่ (ผู้ที่มีอาการอีดี หรือการแข็งตัวระดับเกรด 1-3) ในเอเชีย อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศยังไม่ได้รับการตระหนักเท่าที่ควร ประกอบกับวัฒนธรรมเอเชียที่มองว่าเรื่องปัญหาทางเพศเป็นเรื่องน่าอาย ส่งผลให้ผู้ชายเอเชียเก็บงำปัญหาอีดีไว้คนเดียว และหาทางแก้ด้วยตนเองด้วยวิธีผิดๆ เช่น การหาข้อมูลหรือสั่งซื้อยาทางอินเทอร์เน็ตมารับประทานเอง โดยไม่มีใบสั่งแพทย์ จึงเสี่ยงที่จะได้รับ ?ยาปลอม? ซึ่งนอกจากจะรักษาไม่ได้ผล ยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพและชีวิต.