พระกำแพงซุ้มกอ

ประวัติการสร้างและการค้นพบ(กรุแตก)ของพระกรุกำแพงเพชร พระทุ่งเศรษฐีศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์นี้  https://www.youtube.com/watch?v=pmOsFYtDfBA

ประวัติพระซุ้มกอ
พระซุ้มกอ จัดเป็นพระที่นิยมสุดยอดของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระที่อมตะ ทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณ ที่จัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย หรือเรียกกันจนติดปากว่า พระกำแพงซุ้มกอ
พระกำแพงซุ้มกอเป็นพระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่าน พุทธลักษณะของพระซุ้มกอนั้นองค์พระประติมากรรม ในสมัยสุโขทัย นั่งสมาธิลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระนั่งประทับอยู่บนบัวเล็บช้าง ขอบของพิมพ์พระจะโค้งมนลักษณะคล้ายตัว ก.ไก่ คนสมัยก่อน จึงเรียกว่า “พระซุ้มกอ” พระกำแพงซุ้มกอ ที่ค้นพบมีด้วยกัน 5 พิมพ์ ประกอบด้วย
1. พิมพ์ใหญ่ แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 มีลายกนก
1.2ไม่มีลายกนก พระที่ไม่มีลายกนกส่วนใหญ่มักจะมีสีดำ หรือสีน้ำตาลแก่ซึ่งเรามักจะเรียกว่า “พระกำแพงซุ้มกอดำ”
2. พิมพ์กลาง
3. พิมพ์เล็ก
4. พิมพ์เล็กพัดใบลาน
5. พิมพ์ขนมเปี๊ยะ
– พระกำแพงซุ้มกอ ทั้งมีลายกนกและไม่มีลายกนก เป็นพระที่มีศิลปะของสุโขทัยปนกับศิลปะศรีลังกา โดยเฉพาะไม่มีลายกนกจะเห็นว่าเป็นศิลปะศรีลังกาอย่างเด่นชัด
– พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อขององค์พระ ใช้ดินผสมกับว่านเกสรดอกไม้ จึงทำให้เนื้อของพระซุ้มกอมีลักษณะนุ่มมัน ละเอียดเมื่อนำผ้ามาเช็ดถูจะเกิดลักษณะมันวาวขึ้นทันที ลักษณะของเนื้อที่เด่นชัดอีกประการหนึ่ง คือตามผิวขององค์พระจะมีจุดสีแดง ๆ ซึ่งเราเรียกว่า “ว่านดอกมะขาม” และตามซอกขององค์พระจะมีจุดดำ ๆ ซึ่งเราเรียกว่า “ราดำจับอยู่ตามบริเวณซอกของพระ”
– พระกำแพงซุ้มกอ นั้นนอกจากเนื้อดินยังพบเนื้อชินและชนิดที่เป็นเนื้อว่านล้วน ๆ ก็มีแต่น้อยมาก
– พระกำแพงซุ้มกอ ที่ขุดค้นพบนั้นจะปรากฏอยู่ตามบริเวณวัดบรมธาตุ วัดพิกุล วัดฤาษีและตลอดบริเวณลานทุ่งเศรษฐี
– พระกำแพงซุ้มกอที่ไม่มีลายกนกที่มีสีน้ำตาลนั้นจัดเป็นพระที่หาได้ยากมาก เพราะส่วนใหญ่จะมีสีดำ
– พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระพุทธคุณเป็นที่ยอมรับ เพราะพระกำแพงซุ้มกอ มีครบเครื่องไม่ว่าเรื่อง เมตตา มหานิยม แคล้วคลาด ตลอดจนเรื่องโชคลาภ จนมีคำพูดที่พูดติดปากกันมาแต่โบราณกาลว่า “มีกูไว้ไม่จน”
ประกอบกับพระกำแพงซุ้มกอ ถูกจัดอยู่หนึ่งในห้าของชุดเบญจภาคี ความต้องการของนักนิยมพระเครื่องจึงมีความต้องการสูงเพราะทุกคนต้องการแต่พระกำแพงซุ้มกอทั้งนั้น ราคาเช่าหาจึงแพงมาก และหาได้ยากมากด้วย
– พระกำแพงซุ้มกอ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ไหนก็ตามหรือจะเป็นเนื้อดินเนื้อว่าน ตลอดจนเนื้อชิน พุทธคุณเหมือนกันหมด แล้วแต่ว่าท่านจะหาพิมพ์ไหนมาได้
– พระกำแพงซุ้มกอจึงจัดว่าอยู่ในพระอมตะพระกรุอันทรงคุณค่าที่ควรค่าแก่การหา และนำมาเพื่อเป็นศิริมงคล เป็นอย่างมากทีเดียว

 

14793548591501479354856910

(ที่มา : แฟนเพจ อ.รังสรรค์ ต่อสุวรรณ)

พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีลายกนก กรุบรมธาตุ ลานทุ่งเศรษฐี กำแพงเพชร
พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีลายกนกและเส้นจีวรใต้แขนด้านขวามือ ซึ่งเป็นอีกพิมพ์หนึ่งที่ปรากฏในกรุบรมธาตุ แห่งลานทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร เนื้อสีแดงแต่ติดควันไฟสีดำบริเวณด้านขวาขององค์พระ พระพิมพ์นี้เป็นพระซุ้มกอที่มีขนาดใหญ่กว่าพิมพ์อื่นทั่วไป หน้ากลมศิลปะเชียงแสน มีกระจังที่คมชัด มีนัยน์ตาในกรอบเบ้าตาทั้งสองข้าง มีจมูกและริมฝีปากที่ชัดเจน กระกรรณทั้งสองข้างคมชัด ประภามณฑลคมชัดสมบูรณ์และมีลายกนกที่คมชัดสมบูรณ์เช่นกัน สามารถเห็นกนกเศียรพญานาคที่สวยงาม กรอบซุ้มด้านขวาขององค์พระจะใหญ่ และเรียวเล็กลงโค้งไปทางด้านซ้ายเป็นเรียวเล็กสุด อันเป็นเอกลักษณ์ของพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ทุกพิมพ์ มีสร้อยสังวาลหนึ่งเส้น ประทับบนฐานเล็บช้างที่มุมขวาขององค์พระศิลปะจะโค้งไปด้านหลัง พิมพ์ด้านหลังเป็นลายหลังกระดานมีคราบดินขี้กรุเต็มร่องกระดาน รวมความแล้วถือเป็นพระที่ค่อนข้างจะสวยมากองค์หนึ่งครั
ขอขอบคุณ อ.รังสรรค์ ต่อสุวรรณ และเจ้าของพระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีลายกนก กรุวัดบรมธาตุ องค์สวยระดับแชมป์

พระซุ้มกอ พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร
มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อ พ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี แห่งวัดระฆังฯ ซึ่งขึ้นมาที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ ที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชร ที่มีอยู่ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระ อุปเท่ห์การอาราธนาพระ รวมถึงพุทธานุภาพอย่างมหัศจรรย์ ของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย นอกจากนี้ในพระราชนิพนธ์ เรื่องเสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนในปี พ.ศ. 2449 ก็ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ในราวปี พ.ศ.1279 จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่เชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระซุ้มกอสร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมืองชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะได้ทรงรับสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย ดังนั้นอายุการสร้างของพระซุ้มกอจนถึงปัจจุบัน จึงมีประมาณ 700-800 ปี พระซุ้มกอที่ได้รับความนิยมมีทั้งหมด 4 พิมพ์คือ
– พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีกนก
– พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ไม่มีกนก
– พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง
– พระซุ้มกอ พิมพ์ขนมเปี๊ยะ

กรุพระกำแพงซุ้มกอ

  1. กรุวัดบรมธาตุ
  2. กรุวัดพิกุล
  3. กรุวัดฤาษี
  4. กรุฝั่งลานทุ่งเศรษฐี
  5. กรุวัดตาลดำ
  6. กรุ บขส.
  7. กรุวัดหนองพุทรา
  8. กรุวัดตะแบกลาย
  9. กรุวัดเจดีย์กลางนคร
  10. กรุวัดป่ามืด
  11. กรุวัดช้าง
  12. กรุ2480เจ้าคุณวิเชียรสร้างวัดบรมธาตุ

 

Leave a Reply